รปภ. ยุคใหม่ต้องมีใบอนุญาต และผ่านการอบรม

รปภ. ยุคใหม่ต้องมีใบอนุญาต และผ่านการอบรม

01 มิ.ย. 2564   ผู้เข้าชม 13,637

พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไปเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 และกำหนดให้มีผลบังคับใช้หลังจากประกาศในราชกิจจาฯ 120 วัน คือวันที่ 4 มีนาคม 2559

ดังนั้น ตามกฎหมายฉบับนี้ นับแต่ วันที่ 5 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป ใครจะเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือ รปภ. จะต้องไปขึ้นทะเบียน เพื่อขอรับ “ใบอนุญาต” กับทางสถานีตำรวจทั่วประเทศ ให้เรียบร้อยภายใน 60 วัน

ซึ่งการขึ้นทะเบียนดังกล่าว ได้ครบกำหนด 60 วันไปแล้ว เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ผลก็คือ หากวันนี้ รปภ.คนใด ยังไม่ไปดำเนินการขึ้นทะเบียน ตามกฎหมาย ถือว่ามีความผิด

พนักงาน รปภ.ทุกคนต้องมีใบอนุญาตและผ่านการอบรม หากพ้นกำหนดจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทเฉพาะกาลของกฎหมายฉบับนี้ โดยต้องได้รับโทษ ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ ว่า

  • ผู้ใดทำหน้าที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ผู้ประกอบการผู้ใดประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

รวมทั้งยังต้องมีระบบการแจ้งเหตุและแจ้งรายชื่อพนักงาน รปภ. ให้แก่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับทราบ เพื่อสามารถตรวจสอบและติดตามได้สำหรับตัว รปภ.เอง ก่อนหน้านี้ ผู้ใดจะเข้ามาเป็น รปภ.ก็ได้ จึงเปิดช่องให้มีการนำคนต่างด้าว เช่น ลาว เขมร หรือพม่า เข้ามาสวมรอยทำอาชีพ รปภ. เป็นจำนวนไม่น้อย

เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ เพื่อต้องการยกระดับความมีมาตรฐานของงานด้านการรักษาความปลอดภัย โดยผู้ออกกฎหมาย คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต้องการให้ทั้งบริษัทธุรกิจรักษาความปลอดภัย และตัวเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) มีคุณภาพมาตรฐานที่สูงขึ้น

แต่หลังจากที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้บังคับใช้ ได้กำหนดไว้ชัดเจนในมาตรา 34 ว่า ผู้ที่จะประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้ ต้องเป็นคนไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ หรือชั้น ม.3 รวมทั้ง ต้องได้รับหนังสือรับรองว่า ได้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการรักษาความปลอดภัย จากสถานฝึกอบรม ที่นายทะเบียนกลาง (ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล) เป็นผู้รับรองเท่านั้น

นอกจากนี้ ยังมีลักษณะต้องห้าม มิให้ผู้ใดเข้ามาเป็น รปภ. หากพบว่า เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุก สำหรับความผิดเกี่ยวกับ ชีวิต ร่างกาย เพศ ทรัพย์ ยาเสพติด หรือ การพนัน มาก่อน เว้นแต่จะพ้นโทษมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 ปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาตฯ แต่จะต้องไม่ใช่ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตามกฎหมายอาญา

เพื่อเป็นการคัดกรองให้ รปภ. มีคุณภาพ และหน้าที่ความรับผิดชอบสูงขึ้น กฎหมายฉบับใหม่ยังได้จำกัดสิทธิของ คนวิกลจริต สติฟั่นเฟือน หรือ ติดสุราเรื้อรัง มิให้เข้ามาเป็น รปภ.อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีบทเฉพาะกาล ยอมผ่อนปรนให้แก่ รปภ. ที่ประกอบอาชีพอยู่เดิมก่อนที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ สามารถไปยื่นเรื่องภายใน 90 วัน หลังจากวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งครบกำหนดไปเมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน 2559 โดยจะได้รับการยกเว้นคุณสมบัติ เรื่องการศึกษาภาคบังคับ (จบ ม.3) ถึงแม้ว่าจะไม่จบ ม.3 แต่ถ้าทำอาชีพนี้อยู่ก่อนแล้ว ก็ได้รับการยกเว้น เพื่อมิให้กระทบกับปัญหาการว่างงาน

 

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์

 

ที่ไหนมีเรา......ที่นั่นปลอดภัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

พนักงานรักษาความปลอดภัยที่ดี ควรมีคุณสมบัติอย่างไร ?
23 ธ.ค. 2563

พนักงานรักษาความปลอดภัยที่ดี ควรมีคุณสมบัติอย่างไร ?

สาระน่ารู้
เพราะการดูแล “หมู่บ้านจัดสรร” 🏠 เป็นเรื่องที่คุณ “ควรใส่ใจ” 💙
25 มิ.ย. 2565

เพราะการดูแล “หมู่บ้านจัดสรร” 🏠 เป็นเรื่องที่คุณ “ควรใส่ใจ” 💙

สาระน่ารู้