เนื่องจากการให้บริการรักษาความปลอดภัยนั้น มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชน อันจะเป็นการส่งเสริมความสงบเรียบร้อยในสังคม เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติ จึงได้มีการกำหนดในเรื่องของมาตรฐานความปลอดภัยและมาตรฐานของพนักงานรักษาความปลอดภัย นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการ รวมถึงการสร้างความสงบเรียบร้อยและความร่วมมือกับหน่วยงานราชการอีกด้วย
คณะกรรมการกำกับธุรกิจรักษาความปลอดภัย ได้มีการกำหนดมาตราฐานของพนักงานรักษาความปลอดภัยในด้านต่างๆขึ้นทั้ง การฝึกอบรม จำนวนชั่วโมงในการฝึกอบรม และรายละเอียดด้านอื่นๆ ที่ทั้งบริษัทประกอบกิจการรักษาความปลอดภัย และพนักงานรักษาความปลอดภัยจะต้องปฏิบัติ ซึ่งรูปแบบของการได้รับอนุญาตที่แสดงออกได้ ก็โดยการกำหนดให้มีเครื่องหมายที่แสดงออกว่าเป็น พนักงานรักษาความปลอดภัยที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว
(ประกาศคณะกรรมการกำกับธุรกิจรักษาความปลอดภัย เรื่อง กำหนดเครื่องหมายของพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต พ.ศ.2560 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 229 ง 19 ก.ย. 2560)
โดยนิยามในมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย นั้นกำหนดธุรกิจรักษาความปลอดภัยนั้น จะต้องมีพนักงานรักษาความปลอดภัยที่รับอนุญาตสังกัดอยู่ในองค์กรของผู้ประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัย ซึ่งกำหนดให้มีหน้าที่หลักในการ คุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบุคคล โดยให้รับเงินเดือน หรือประโยชน์ตอบแทน
และในการประกอบธุรกิจรักษาความปลอดภัยนั้น พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.2558 (มาตรา 27 พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ.25588) ได้กำหนดให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจรักาความปลอดภัยนั้นจะต้องมี พนักงานรักษาความปลอดภัยที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ให้บริการในการรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ว่าจ้าง ซึ่งพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด