การรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่ รปภ.ควรมี

การรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่ รปภ.ควรมี

19 ก.ค. 2564   ผู้เข้าชม 11,445
  • การตรวจตราบริเวณสถานที่รับผิดชอบเทคนิคการตรวจการสังเกต และรับรู้สภาพแวดล้อมการรับรู้สถานการณ์การสังเกต การตรวจสอบบุคคลและสัมภาระ การสังเกตจดจำตำหนิรูปพรรณบุคคล
  • องค์ประกอบพื้นฐานของความปลอดภัย การห้ามเข้าพื้นที่ การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ การเคลื่อนย้ายคนไปในที่ปลอดภัย
  • การควบคุมฝูงชน การสร้างสิ่งกีดขวาง หรือกำหนดเขตหวงห้าม การปิดกั้นสถานที่

 

การรักษาความปลอดภัย มี 3 ประเภท ดังนี้

  • รักษาความปลอดภัย อาคาร สถานที่ และทรัพย์สิน
  • รักษาความปลอดภัย หีบห่อ สัมภาระ ขนย้าย
  • รักษาความปลอดภัย บุคคล สำคัญ

 

รักษาความปลอดภัย อาคาร สถานที่ และทรัพย์สิน

หมายถึง มาตรการที่กำหนดขึ้นเพื่อ พิทักษ์ รักษา ที่สงวนอาคารสถานที่ ราชการ หน่วยงาน วัสดุ,อุปกรณ์ เจ้าหน้าที่เอกสาร ให้พ้นจาก โจรกรรม จารกรรม ก่อวินาศกรรม และเหตุอื่นๆ อันอาจทำให้เสียสมรรถภาพในการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการได้

 

ข้อพิจารณาในการวางมาตรการ การ รปภ. สถานที่

  • สำรวจพื้นที่หน้างาน
  • วิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
  • จัดทำแผนเพื่อ ตอบโต้ กำจัดปัจจัยที่จะเกิดขึ้น
  • ดำเนินการปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้

ภยันตรายที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับสถานที่

 

     1.ภยันตรายที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

                1.1 น้ำท่วม

                1.2 ลมพายุ

                1.3 แผ่นดินไหว

     2.ภยันตรายที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์

                2.1 โดยไม่เจตนาหรือไม่ตั้งใจ

                2.2 โดยเจตนา หรือตั้งใจ เช่น การเผาป่า การตัดไม้

 

ข้อพิจารณามาตรการในการรักษาความปลอดภัยสถานที่

     1.เครื่องกีดขวาง

                - เครื่องกีดขวางทางธรรมชาติ (ภูเขา,คลอง,บึง)

                - เครื่องกีดขวางที่ประดิษฐ์ขึ้น (รั้ว,กำแพง)

     2.ระบบแสงสว่าง

                - ใช้แสงสว่างโดยตรง (ไฟฉาย,สปอร์ตไลท์)

                - ใช้แสงกสว่างกระจายทั่วไป (หลอดนีออน,โคมไฟ)

     3.เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

                (จำนวน/ที่ตั้ง,ปฏิบัติงานได้สะดวก/การติดต่อสื่อสาร/ระบบสัญญาณแจ้งภัย/การฝึกอบรม/เครื่องแบบและอาวุธ)

     4.การควบคุมบุคคลและยานพาหนะ

                - ควบคุมบุคคล โดยการจัดให้มีบัตรผ่าน

                - ควบคุมยานพาหนะ โดยการทำบันทึกหลักฐาน ยานพาหนะที่ผ่าน เข้า - ออก จดจวัน,เดือน,ปี/เลขทะเบียนรถ

     5.การจัดพื้นที่ที่มีการรักษาความปลอดภัย

                - กำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุม

                - กำหนดให้เป็นพื้นที่หวงห้าม

 

 

     6.การป้องกันอัคคีภัย

                - เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องมีความรู้ (ประเภทของไฟ,เครื่องมือเครื่องใช้ในการดับเพลิง)

                - แผนการดับเพลิง แผนผังอาคาร การติดต่อสื่อสาร

     7.มาตรการเสริม เช่น กล้องวงจรปิด,ประตูรีโมท
     8.ต้องมีการควบคุมและการรายงาน ตรวจสอบตามห้วงเวลา

 

ประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัย

 

หน้าที่ของ พนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต
  • เป็นผู้ช่วยเหลือ พนง.ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตาม ป.วิอาญา
  • รักษาความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของบุคคล รวมทั้งระงับเหตุ รปภ. บริเวณหรือสถานที่ที่รับผิดชอบตามข้อกำหนดในสัญญาจ้าง
  • เมื่อมีการกระทำความผิดอาญาเกิดขันหรือน่าเชื่อว่ามีเหตุร้าย ต้องแจ้งเหตุนั้น ปิดกั้นและรักษาสถานที่เกิดเหตุ จนกว่า พนง.ฝ่ายปกครอง/ตร.มา
การป้องกันเหตุ
  • มีการออกตรวจบริเวณพื้นที่รับผิดชอบ
  • สังเกตสภาพแวดล้อมต่างๆและจำสิ่งที่ผิดสังเกต
  • สังเกตบุคคลภายนอก ที่ผ่านเข้า - ออก
  • มีการจดรายละเอียดของยานพาหนะที่ผ่านเข้า - ออก
บริเวณที่ควรออกตรวจ และประโยชน์ของการออกตรวจ
  • ออกตรวจ..พื้นที่ที่รับผิดชอบ
  • ควรออกตรวจอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดช่องว่างการก่อเหตุ
  • คนร้ายล้มเลิกในการทำความผิด

 

บริเวณที่ควรให้ความสำคัญในการออกตรวจ
  • บริเวณลานจอดรถ / อาคารจอดรถ
  • บริเวณตู้ ATM
  • บริเวณจุดอับ / ช่องทางที่คนร้ายอาจเข้าลักทรัพย์ในอาคาร
  • ตึก / อาคารที่เก็บเอกสารหรือทรัพย์สินมีค่า

 

ทางบริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยของลูกค้า จึงได้มีการฝึกอบรมและทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉินให้ พนักงานรักษาความปลอดภัยอยู่สม่ำเสมอ


หากท่านกำลังมองหาบริการเจ้าหน้าที่ รักษาความปลอดภัย สามารถติดต่อเรา SECURITY SILVER GUARD ได้ตามช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

ช่องทางการติดต่อ

Facebook : Silvguard

LINE : @salesilverguard

Website : https://www.silvguard.com/


บทความที่เกี่ยวข้อง